เมนู

6. มหากัมมวิภังคสูตร



[598] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเวฬุวัน อันเคยเป็น
สถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์. สมัยนั้นแล ท่าน
พระสมิทธิอยู่ในกระท่อมในป่า. ครั้งนั้น ปริพาชกโปตลิบุตรเดินเล่นไปโดย
ลำดับเข้าไปหาท่านพระสมิทธิยังที่อยู่แล้ว ได้ทักทายปราศรัยกับท่านพระสมิทธิ
ครั้น ผ่านคำทักทายปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้าง
หนึ่ง.
[599] ปริพาชกโปตลิบุตร พอนึ่งเรียบร้อยแล้ว ได้กล่าวกะท่าน
พระสมิทธิดังนี้ว่า ดูก่อนท่านสมิทธิ ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์
พระสมณโคดมดังนี้ว่า กายกรรมเป็นโมฆะ วจีกรรมเป็นโมฆะ มโนกรรม
เท่านั้น จริง และว่าสมาบัติที่บุคคลเข้าแล้วไม่เสวยเวทนาอะไร ๆ นั้น มีอยู่.
ท่านพระสมิทธิกล่าวว่า ดูก่อนโปตลิบุตรผู้มีอายุ ท่านอย่ากล่าวอย่าง
นี้ อย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ดีเลย เพราะ
พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสอย่างนี้ว่า กายกรรมเป็นโมฆะ วจีกรรมเป็นโมฆะ
มโนกรรมเท่านั้น จริง และว่าสมาบัติที่บุคคลเข้าแล้วไม่เสวยเวทนาอะไร ๆ
นั้น มีอยู่.
ปริพาชก. ดูก่อนท่านสมิทธิ ท่านบวชมานานเท่าไรแล้ว.
สมิทธิ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ไม่นาน เพียง 3 พรรษา.
ปริพาชก. ในเมื่อภิกษุไหนเข้าใจการระแวดระวังศาสดาถึงอย่างนี้แล้ว
คราวนี้พวกเราจักพูดอะไรก่อนภิกษุผู้เถระได้ ดูก่อนท่านสมิทธิ บุคคลทำกรรม
ชนิดที่ประกอบด้วยความจงใจแล้วด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ เขาจะเสวยอะไร.

สมิทธิ. ดูก่อนโปตลิบุตรผู้มีอายุ เขาจะเสวยทุกข์
ลำดับนั้น ปริพาชกโปตลิบุตรไม่ยินดี ไม่คัดค้านภาษิตของท่านพระ
สมิทธิ แล้วลุกจากอาสนะหลีกไป.
[600] ครั้นปริพาชกโปตลิบุตรหลีกไปแล้วไม่นาน ท่านพระสมิทธิ
เข้าไปหาท่านพระอานนท์ยังที่อยู่ แล้วได้ทักทายปราศรัยกับท่านพระอานนท์
ครั้นผ่านคำทักทายปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้าง
หนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว จึงบอกเรื่องเท่าที่ได้สนทนา กับ ปริพาชกโปตลิบุตร
ทั้งหมด แก่ท่านพระอานนท์. เมื่อท่านพระสมิทธิบอกแล้วอย่างนี้ ท่านพระ-
อานนท์จึงได้กล่าวกะท่านพระสมิทธิดังนี้ว่า ดูก่อนท่านสมิทธิ เรื่องนี้มีเค้าพอ
จะเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ มาเถิด เราทั้งสองพึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ยังที่ประทับ แล้วกราบทูลเรื่องนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์แก่เรา
อย่างไร เราพึงทรงจำคำพยากรณ์นั้นไว้อย่างนั้น . ท่านพระสมิทธิรับคำท่าน
พระอานนท์ว่า ชอบแล้วท่านผู้มีอายุ.
ต่อจากนั้น ท่านพระสมิทธิและท่านพระอานนท์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคเจ้ายังที่ประทับ แล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้านั่ง ณ ที่ควรส่วน
ข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลเรื่องเท่าที่ท่านพระ-
สมิทธิ ได้สนทนากับปริพาชกโปตลิบุตรทั้งหมด แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
[601] เมื่อท่านพระอานนท์กราบทูลแล้วอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้ตรัสกะพระอานนท์ดังนี้ว่า ดูก่อนอานนท์แม้ความเห็นของปริพาชกโปตลิ-
บุตร เราก็ไม่ทราบชัด ไฉนเล่า จะทราบชัดการสนทนากันเห็นปานนี้ ได้
โมฆบุรุษสมิทธินี้แล ได้พยากรณ์ปัญหาที่ควรแยกแยะพยากรณ์ของปริพาชก-
โปตลิบุตรแต่แง่เดียว.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วอย่างนี้ ท่านพระอุทายีได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ถ้าท่านพระสมิทธิกล่าว
หมายทุกข์นี้แล้ว ไม่ว่าการเสวยอารมณ์ใด ๆ ต้องจัดเข้าในทุกข์ทั้งนั้น.
[602] เมื่อท่านพระอุทายีกล่าวแล้วอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้
ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ เธอจงเห็นความนอกลู่นอกทางของ
โมฆบุรุษอุทายีนี้เถิด เรารู้แล้วละ เดี๋ยวนี้แหละ โมฆบุรุษอุทายีนี้โพล่งขึ้น
โดยไม่แยบคาย ดูก่อนอานนท์ เบื้องต้นทีเดียว ปริพาชกโปตลิบุตรถามถึง
เวทนา 3 ถ้าโมฆบุรุษสมิทธิผู้ถูกถามนี้ จะพึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูก่อน
โปตลิบุตรผู้มีอายุ บุคคลทำกรรมชนิดที่ประกอบด้วยความจงใจแล้ว ด้วยกาย
ด้วยวาจา ด้วยใจ อันให้ผลเป็นสุข เขาย่อมเสวยสุข บุคคลทำกรรมชนิดที่
ประกอบด้วยความจงใจแล้ว ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ อันให้ผลเป็นทุกข์
เขาย่อมเสวยทุกข์ บุคคลทำกรรมชนิดที่ประกอบด้วยความจงใจแล้ว ด้วยกาย
ด้วยวาจา ด้วยใจ อันให้ผลไม่ทุกข์ไม่สุข เขาย่อมเสวยอทุกขมสุข ดูก่อนอานนท์
โมฆบุรุษสมิทธิเมื่อพยากรณ์อย่างนี้แล ชื่อว่าพยากรณ์โดยชอบแก่ปริพาชก-
โปตลิบุตร ก็แต่ว่าพวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นนั้น เป็นคนโง่ ไม่ฉลาด ใคร
เล่าจักรู้มหากัมมวิภังค์ของตถาคต ถ้าพวกเธอฟังตถาคตจำแนกมหากัมมวิภังค์
อยู่.
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พระสุคต เป็น
กาลสมควรแล้ว ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงจำแนกมหากัมมวิภังค์ ภิกษุทั้งหลาย
สดับต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วจักได้ทรงจำไว้.
พ. ดูก่อนอานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
ต่อไป. ท่านพระอานนท์ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ชอบแล้ว พระ
พุทธเจ้าข้า.

[603] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ บุคคล
4 จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก. 4 จำพวกเหล่าไหน คือ
(1) บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป มัก
ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ มักประพฤติผิดในกาม มักพูดเท็จ มักพูดส่อ
เสียด มักพูดคำหยาบ มักเจรจาเพ้อเจ้อ มากด้วยอภิชฌา มีจิตพยาบาท มี
ความเห็นผิดอยู่ในโลกนี้ เขาตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต
นรก ก็มี.
(2) บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป มัก
ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ มักประพฤติผิดในกาม มักพูดเท็จ มักพูดส่อ
เสียด มักพูดคำหยาบ มักเจรจาเพ้อเจ้อ มากด้วยอภิชฌา มีจิตพยาบาท มีความ
เห็นผิดอยู่ในโลกนี้ เขาตายไปแล้วย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ก็มี.
(3) บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต เว้นขาด
จากอทินนาทาน เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร เว้นขาดจากมุสาวาท เว้นขาด
จากพูดส่อเสียด เว้นขาดจากพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการเจรจาเพ้อเจ้อ ไม่
มากด้วยอภิชฌา มีจิตไม่พยาบาท มีความเห็นชอบอยู่ในโลกนี้ เขาตายไปแล้ว
ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ก็มี.
(4) บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต เว้นขาด
จากอทินนาทาน เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร เว้นขาดจากมุสาวาท เว้นขาด
จากพูดส่อเสียด เว้นขาดจากพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการเจรจาเพ้อเจ้อ ไม่
มากด้วยอภิชฌา มีจิตไม่พยาบาท มีความเห็นชอบอยู่ในโลกนี้ เขาตายไปแล้ว
ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ก็มี.

[604] ดูก่อนอานนท์ สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัย
ความเพียรเครื่องเผากิเลส ความตั้งใจมั่น ความประกอบเนือง ๆ ความไม่
ประมาท ความใส่ใจโดยชอบ ย่อมถูกต้องเจโตสมาธิมีรูปทำนองที่เมื่อจิตตั้งมั่น
แล้ว ย่อมเล็งเห็นบุคคลโน้น ผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง มักถือเอาสิ่งของที่
เจ้าของมิได้ให้ มักประพฤติผิดในกาม มักพูดส่อเสียด มักพูดคำหยาบ มัก
เจรจาเพ้อเจ้อ มากด้วยอภิชฌา มีจิตพยาบาท มีความเห็นผิดในโลกนี้ และ
เล็งเห็นผู้นั้นตายไปแล้ว เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรกได้ ด้วยจักษุเพียง
ดังทิพย์ อันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ สมณะหรือพราหมณ์นั้นจึงกล่าว
อย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่ากรรมชั่วมี วิบากของทุจริตมี ข้าพเจ้าได้
เห็นบุคคลโน้น ผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง ฯลฯ มีความเห็นผิดในโลกนี้ และ
ผู้นั้นตายไป เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ข้าพเจ้าก็เห็น แล้ว กล่าวต่อ
ไปอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่า ผู้ใดมักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง ฯลฯ มี
ความเห็นผิด ผู้นั้นทุกคนตายไปแล้วย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก.
ชนเหล่าใดรู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้น ชื่อว่ารู้ชอบ ชนเหล่าใดรู้โดยประการอื่น ความ.
รู้ของชนเหล่านั้นผิด. สมณะหรือพราหมณ์นั้นจะพูดปักลงไปถึงเรื่องที่เขารู้เอง
เห็นเอง ทราบเอง โดยประการนั้นแหละ. ในที่นั้น ๆ ตามกำลังและความแน่
ใจว่า นี้เท่านั้นจริง อื่นเปล่า.
[605] ดูก่อนอานนท์ ส่วนสมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้
อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส ความตั้งใจมั่น ความประกอบเนือง ๆ ความ
ไม่ประมาท ความใส่ใจโดยชอบ ย่อมถูกต้องเจโตสมาธินี้รูปทำนองที่เมื่อจิต
ตั้งมั่นแล้ว ย่อมเล็งเห็นบุคคลโน้น ผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง ฯลฯ มีความ
เห็นผิดในโลกนี้ และเล็งเห็นผู้นั้นตายไปแล้ว เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ได้ ด้วย
จักษุเพียงดังทิพย์ อันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ สมณะหรือพราหมณ์นั้น

จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่ากรรมชั่วไม่มี วิบากของทุจริตไม่มี
ข้าพเจ้าได้เห็นบุคคลโน้น ผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง ฯลฯ มีความเห็นผิดใน
โลกนี้ และผู้นั้นตายไป เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ข้าพเจ้าก็เห็น แล้วกล่าวต่อ
ไปอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่าผู้ใดมักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง ฯลฯ มี
ความเห็นผิด ผู้นั้นทุกคนตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ชนเหล่าใด
รู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ชอบ ชนเหล่าใดรู้โดยประการอื่น ความรู้ของ
ชนเหล่านั้นผิด. สมณะหรือพราหมณ์นั้น จะพูดปักลงไปถึงเรื่องที่เขารู้เอง
เห็นเอง ทราบเอง โดยประการนั้นแหละ ในที่นั้น ๆ ตามกำลังและความ
แน่ใจว่า นี้เท่านั้นจริง อื่นเปล่า.
[606] ดูก่อนอานนท์ สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัย
ความเพียรเครื่องเผากิเลส ความตั้งใจมั่น ความประกอบเนือง ๆ ความไม่
ประมาท ความใส่ใจโดยชอบ ย่อมถูกต้องเจโตสมาธิมีรูปทำนองที่เมื่อจิตตั้งมั่น
แล้ว ย่อมเล็งเห็นบุคคลโน้น ผู้เว้นขาดจากปาณาติบาตเว้นขาดจากอทินนาทาน
เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร เว้นขาดจากมุสาวาท เว้นขาดจากพูดส่อเสียด
เว้นขาดจากพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการเจรจาเพ้อเจ้อ ไม่มากด้วยอภิชฌา
มีจิตไม่พยาบาท มีความเห็นชอบในโลกนี้ และเล็งเห็นผู้นั้นเมื่อตายไปแล้ว
เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ได้ ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์ อันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของ
มนุษย์. สมณะหรือพราหมณ์นั้นจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่า
กรรมดีมี วิบากของสุจริตมี ข้าพเจ้าได้เห็นบุคคลโน้น ผู้เว้นขาดจากปาณา-
ติบาต ฯลฯ มีความเห็นชอบในโลกนี้ และผู้นั้นตายไปแล้ว เข้าถึงสุคติ
โลกสวรรค์ ข้าพเจ้าก็เห็น แล้วกล่าวต่อไปอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่า
ผู้ใดเว้นขาดจากปาณาติบาต ฯลฯ มีความเห็นชอบ ผู้นั้นทุกคนตายไปแล้ว

ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์. ชนเหล่าใดรู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ชอบ
ชนเหล่าใดรู้โดยประการอื่น ความรู้ของชนเหล่านั้นผิด. สมณะหรือพราหมณ์
นั้น จะพูดปักลงไปถึงเรื่องที่เขารู้เอง เห็นเอง ทราบเอง โดยประการนั้นแหละ
ในที่นั้น ๆ ตามกำลังและความแน่ใจว่า นี้เท่านั้นจริง อื่นเปล่า.
[607] ดูก่อนอานนท์ ส่วนสมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้
อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส ความตั้งใจนั้น ความประกอบเนือง ๆ ความ
ไม่ประมาท ความใส่ใจโดยชอบ ย่อมถูกต้องเจโตสมาธิมีรูปทำนองที่เมื่อจิต
ตั้งมั่นแล้ว ย่อมเล็งเห็นบุคคลโน้น ผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต ฯลฯ มีความ
เห็นชอบในโลกนี้ และเล็งเห็นผู้นั้นตายไปแล้ว เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต
นรกได้ ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์ อันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์. สมณะ
หรือพราหมณ์นั้นจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่า กรรมดีไม่มี
วิบากของสุจริตไม่มี ข้าพเจ้าได้เห็นบุคคลโน้น ผู้เว้นขาดจากปานาจิบาต ฯลฯ
มีความเห็นชอบในโลกนี้ และผู้นั้นตายไป เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ข้าพเจ้าก็เห็น แล้วกล่าวต่อไปอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่า ผู้ใดเว้นขาด
จากปาณาติบาต ฯลฯ มีความเห็นชอบ ผู้นั้น ทุกคนตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก. ชนเหล่าใดรู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ชอบ ชนเหล่าใด
รู้โดยประการอื่น ความรู้ของชนเหล่านั้นผิด. สมณะหรือพราหมณ์นั้นจะพูด
ปักลงไปถึงเรื่องที่เขารู้เอง เห็นเอง ทราบเอง โดยประการนั้นแหละ ในที่
นั้น ๆ ตามกำลังและความแน่ใจว่า นี้เท่านั้นจริง อื่นเปล่า.
[608] ดูก่อนอานนท์ ในสมณะหรือพราหมณ์ 8 จำพวกนั้น เรา
อนุมัติวาทะของสมณะหรือพราหมณ์ที่กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่า
กรรมชั่วมี วิบากของทุจริตมี แม้วาทะของเขาที่กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าได้

เห็นบุคคลโน้น ผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง ฯลฯ มีความเห็นผิดในโลกนี้
และผู้นั้นตายไปแล้ว เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ข้าพเจ้าก็เห็น นี้เรา
ก็อนุมัติ ส่วนวาทะของเขาที่กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่า ผู้ใด
มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง ฯลฯ มีความเห็นผิด ผู้นั้นทุกคนตายไปแล้ว ย่อม
เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก นี้เรายังไม่อนุมัติ แม้วาทะของเขาที่กล่าว
อย่างนี้ว่า ชนเหล่าได้รู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ชอบ ชนเหล่าใดรู้โดย
ประการอื่น ความรู้ของชนเหล่านั้นผิด นี้เราก็ยังไม่อนุมัติ แม้วาทะของเขา
ที่พูดปักลงไปถึงเรื่องที่เขารู้เอง เห็นเอง ทราบเอง นั้นแหละในที่นั้น ๆ ตาม
กำลังและความแน่ใจว่า นี้เท่านั้นจริง อื่นเปล่า นี้เราก็ยังไม่อนุมัติ นั้น
เพราะเหตุไร ดูก่อนอานนท์ เพราะตถาคตมีญาณในมหากัมมวิภังค์เป็นอย่างอื่น
[609] ดูก่อนอานนท์ ในสมณะหรือพราหมณ์ จำพวกนั้น เรา
ไม่อนุมัติวาทะของสมณะหรือพราหมณ์ที่กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่า
กรรมชั่วไม่มี วิบากของทุจริตไม่มี แต่วาทะของเขาที่กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้า
ได้เห็นบุคคลโน้น ผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง ฯลฯ มีความเห็นผิดในโลกนี้
และผู้นั้นตายไปแล้ว เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ข้าพเจ้าก็เห็น นี้เราอนุมัติ
ส่วนวาทะของเขาที่กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่า ผู้ใดมักทำชีวิตสัตว์
ให้ตกล่วง ฯลฯ มีความเห็นผิด ผู้นั้นทุกคนตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงสุคติ
โลกสวรรค์ นี้เรายังไม่อนุมัติ แม้วาทะของเขาที่กล่าวอย่างนี้ว่า ชนเหล่าใดรู้
อย่างนี้ ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ชอบ ชนเหล่าใดรู้โดยประการอื่น ความรู้ของ
ชนเหล่านั้นผิด นี้เราก็ยังไม่อนุมัติ แม้วาทะของเขาที่พูดปักลงไปถึงเรื่องที่เขา
รู้เอง เห็นเอง ทราบเองนั้นแหละ ในที่นั้น ๆ ตามกำลังและความแน่ใจว่า

นี้เท่านั้นจริง อื่นเปล่า นี้เราก็ยังไม่อนุมัติ นั่นเพราะเหตุไร ดูก่อนอานนท์
เพราะตถาคตมีญาณในมหากัมมวิภังค์เป็นอย่างอื่น.
[610] ดูก่อนอานนท์ ในสมณะหรือพราหมณ์ 5 จำพวกนั้น เรา
อนุมัติวาทะของสมณะหรือพราหมณ์ที่กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่า
กรรมดีมี วิบากของสุจริตมี แม้วาทะของเขาที่กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าเห็น
บุคคลโน้น ผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต ฯลฯ มีความเห็นชอบในโลกนี้ และ
ผู้นั้นตายไปแล้ว เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ข้าพเจ้าก็เห็น นี้เราก็อนุมัติ ส่วน
วาทะของเขาที่กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่า ผู้ใดเว้นขาดจาก
ปาณาติบาต ฯลฯ มีความเห็นชอบ ผู้นั้นทุกคนตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงสุคติ
โลกสวรรค์ นี้เรายังไม่อนุมัติ แม้วาทะของเขาที่กล่าวอย่างนี้ว่า ชนเหล่าใด
รู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้น ชื่อว่ารู้ชอบ ชนเหล่าใดรู้โดยประการอื่น ความรู้ของ
ชนเหล่านั้นผิด นี้เราก็ยังไม่อนุมัติ แม้วาทะของเขาที่พูดปักลงไปถึงเรื่องที่เขา
รู้เอง เห็นเอง ทราบเอง นั่นแหละในที่นั้น ๆ ตามกำลังและความแน่ใจว่า
นี้เท่านั้นจริง อื่นเปล่า นี้เราก็ยังไม่อนุมัติ นั้นเพราะเหตุไร ดูก่อนอานนท์
เพราะตถาคตมีญาณในมหากัมมวิภังค์เป็นอย่างอื่น.
[611] ดูก่อนอานนท์ ในสมณะหรือพราหมณ์ จำพวกนั้น เรา
ไม่อนุมัติวาทะของสมณะหรือพราหมณ์ที่กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญเป็นอันว่า
กรรมดีไม่มี วิบากของสุจริตไม่มี แต่วาทะของเขาที่กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้า
ได้เห็นบุคคลโน้น ผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต ฯลฯ มีความเห็นชอบในโลกนี้
และผู้นั้นตายไปแล้วเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ข้าพเจ้าก็เห็น นี้เรา
อนุมัติ ส่วนวาทะของเขาที่กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่า ผู้ใดเว้น
ขาดจากปาณาติบาต ฯลฯ มีความเห็นชอบ ผู้นั้นทุกคนตายไปแล้วย่อมเข้าถึง

อบาย ทุคติ วินิบาต นรก นี้เรายังไม่อนุมติ แม้วาทะของเขาที่กล่าวอย่าง
นี้ว่า ชนเหล่าใดรู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ชอบ ชนเหล่าใดรู้โดยประการ
อื่น ความรู้ของชนเหล่านั้นผิด นี้เราก็ยังไม่อนุมัติ แม้วาทะของเขาที่พูดปัก
ลงไปถึงเรื่องที่เขารู้เอง เห็นเอง ทราบเอง นั้นแหละ ในที่นั้น ๆ ตามกำลัง
และความแน่ใจว่านี้เท่านั้นจริง อื่นเปล่า นี้เราก็ยังไม่อนุมัติ นั่นเพราะเหตุไร
ดูก่อนอานนท์ เพราะตถาคตมีญาณในมหากัมมวิภังค์เป็นอย่างอื่น.
[612] ดูก่อนอานนท์ ในบุคคล จำพวกนั้น บุคคลที่เป็นผู้มักทำ
ชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง ฯลฯ มีความเห็นผิดในโลกนี้ ตายไปแล้ว เข้าถึงอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก เป็นอันว่า เขาทำกรรมชั่วที่ให้ผลเป็นทุกข์ไว้ในกาล
ก่อน หรือในกาลภายหลัง หรือว่ามีมิจฉาทิฐิพรั่งพร้อม สมาทานแล้วในเวลา
จะตาย เพราะฉะนั้น เขาตายไป จึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ก็
แหละบุคคลที่เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง ฯลฯ มีความเห็นผิดในโลกนี้นั้น
เขาย่อมเสวยวิบากของกรรมนั้นในชาตินี้ หรือในชาติหน้า หรือในชาติต่อไป.
[613] ดูก่อนอานนท์ ในบุคคล 4 จำพวกนั้น บุคคลที่เป็นผู้มัก
ทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง ฯลฯ มีความเห็นผิดในโลกนี้ ตายไปแล้ว เช้าถึงสุคติ
โลกสวรรค์นี้ เป็นอันว่า เขาทำกรรมดีที่ไห้ผลเป็นสุขไว้ในกาลก่อน ๆ หรือ
ในกาลภายหลัง หรือว่ามีสัมมาทิฐิพรั่งพร้อม สมาทานแล้วในเวลาจะตาย
เพราะฉะนั้น เขาตายไปจึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ก็แหละบุคคลที่เป็นผู้มักทำ
ชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง ฯลฯ มีความเห็นผิดในโลกนี้นั้น เขาย่อมเสวยวิบากของ
กรรมนั้นในชาตินี้ หรือในชาติหน้า หรือในชาติต่อไป.
[614] ดูก่อนอานนท์ ในบุคคล 4 จำพวกนั้น บุคคลที่เว้นขาดจาก
ปาณาติบาต ฯลฯ มีความเห็นชอบในโลกนี้ ตายไปแล้วเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

นี้ เป็นอันว่า เขาทำกรรมดีที่ให้ผลเป็นสุขไว้ในกาลก่อน ๆ หรือในกาลภาย
หลัง หรือว่ามีสัมมาทิฐิพรั่งพร้อม สมาทานแล้วในเวลาจะตาย เพราะฉะนั้น
เขาตายไป จึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ก็แหละบุคคลที่เว้นขาดจากปาณาติบาต
ฯลฯ มีความเห็นชอบในโลกนี้นั้น เขาย่อมเสวยวิบากของกรรมนั้นในชาตินี้
หรือในชาติหน้า หรือในชาติต่อไป.
[615] ดูก่อนอานนท์ ในบุคคล 4 จำพวกนั้น บุคคลที่เว้นขาดจาก
ปาณาติบาต ฯลฯ มีความเห็นชอบในโลกนี้ ตายไปแล้ว เข้าถึงอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก นี้ เป็นอันว่า เขาทำกรรมชั่วที่ให้ผลเป็นทุกข์ไว้ในกาลก่อนๆ
หรือในกาลภายหลัง หรือว่ามีมิจฉาทิฐิพรั่งพร้อม สมาทานแล้วในเวลาจะตาย
เพราะฉะนั้น เขาตายไปจึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ก็แหละบุคคล
ที่เว้นขาดจากปาณาติบาต ฯลฯ มีความเห็นชอบในโลกนี้นั้น เขาย่อมเสวย
วิบาก ของกรรมนั้นในชาตินี้ หรือในชาติหน้า หรือในชาติต่อไป.
[616] ดูก่อนอานนท์ ด้วยประการนี้แล กรรมไม่ควรส่องให้เห็นว่า
ไม่ควรก็มี. กรรมไม่ควร ส่องให้เห็นว่าควรก็มี กรรมที่ควรแท้และส่องให้
เห็นว่าควรก็มี กรรมที่ควรส่องให้เห็นว่าไม่ควรก็มี.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึงชื่นชม
ยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.
จบ มหากัมมวิภังคสูตรที่ 6

อรรถกถามหากัมมวิภังคสูตร



มหากัมมวิภังคสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
ในสูตรนั้น บทว่า โมฆํ ได้แก่ ว่างเปล่า ไม่มีผล. บทว่า สจฺจํ
ได้แก่ แท้ มีจริง. ก็ข้อนี้อันปริพาชกโปตลิบุตรนั้น ไม่ได้ฟังมา เฉพาะ
พระพักตร์. แต่มโนกรรมอันมีโทษมากกว่าได้บัญญัติไว้แล้วในอุปาลิสูตร คำ
นี้ว่า กายกรรมไม่เป็นอย่างนั้น วจีกรรมไม่เป็นอย่างนั้น แห่งการทำกรรมชั่ว
แห่งความเป็นไปของกรรมชั่ว เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วมีอยู่ กถา
นั้นเกิดปรากฏในระหว่างเดียรถีย์ทั้งหลาย. ปริพาชกโปตลิบุตรคือเอากถานั้น
กล่าว. กล่าวคำนี้ว่า ก็สมาบัตินั้น มีอยู่ ดังนี้ หมายถึง อภิสัญญานิโรธกถา
ที่เกิดแล้ว ในโปฏฐปทสูตรว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ อภิสัญญานิโรธมีอย่างไร
หนอแล. บทว่า กิญฺจิ เวทยติ ความว่า ไม่เสวยแม้เวทนาหนึ่ง. บทว่า
อตฺถิ จ โข ความว่า พระเถระย่อมรับรู้หมายถึงนิโรธสมาบัติ. บทว่า
ปริรกฺขติพฺพํ ความว่า พึงรักษาด้วยการเปลื้องจากคำติเตียน. ความจงใจ
แห่งกรรมนั้นมีอยู่ เพราะฉะนั้น กรรมนั้นชื่อว่า สญฺเจตนิกํ แปลว่า ประ-
กอบด้วยความจงใจ อันมีความมุ่งหมาย. บทว่า ทุกฺขํ ความว่า พระเถระ
หมายถึงอุกุศลเท่านั้น จึงกล่าวอย่างนี้ ด้วยสำคัญว่าปริพาชกจะถาม บทว่า
ทสฺสนํปิ โข อหํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นสังขารแม้เพียง
เมล็ดงาในที่ประมาณหนึ่งโยชน์โดยรอบ ในที่มืดแม้มีองค์สี่ ด้วยมังสจักษุ
เทียว. ก็ปริพาชกนี้อยู่ในที่ไม่ไกล ในภายในประมาณคาวุต . ถามว่าเพราะ
เหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนั้น. ตอบว่า เพราะตรัสมุ่งถึงการเห็น
สมาคมเท่านั้น. บทว่า อุทายี คือ พระโลลุทายี. บทว่า ตํ ทุกฺขสฺมึ